พะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวะจักรราชหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาว เปลี่ยนชื่อเป็น พะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ. 2520 จึงได้รับ การจัดตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา
วิธีเดินทางสู่จังหวัดพะเยา
ทางรถยนต์
สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา รวมระยะทางประมาณ 782 กิโลเมตร ตอนกลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่-ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
ทางรถโดยสารประจำทาง
ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศวันละหลายเที่ยว สอบถามได้ที่ โทร. 537-8055, 936-2852 บริษัทขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. (054) 431363 สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 954-3601, (054) 431865 สมบัติทัวร์ โทร. 936-2495-9 , (054) 246503
จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร.(053) 246503
ทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปพะเยา สอบถามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020
ทางเครื่องบิน
มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงรายทุกวัน สอบถามได้ที่ 1566 จองตั๋ว 280-0060, 628-2000
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอจุน 48 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคำ 76 กิโลเมตร
อำเภอเชียงม่วน 117 กิโลเมตร
อำเภอดอกคำใต้ 15 กิโลเมตร
อำเภอปง 79 กิโลเมตร
อำเภอแม่ใจ 24 กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดพะเยาไปยังจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ลำปาง 131 กิโลเมตร
สุโขทัย 337 กิโลเมตร
เชียงใหม่ 222 กิโลเมตร
เชียงราย 94 กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย (เชียงราย) 156 กิโลเมตร
พะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 68 ตำบล 790หมู่บ้าน 2เทศบาลเมือง21เทศบาลตำบล
อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง อำเภอแม่ใจ อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด พะเยา จังหวัดพะเยา Phayao
ตราประจำจังหวัด : รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ
สีประจำจังหวัด: สีบานเย็น
ต้นไม้ประจำจังหวัด: สารภีไทย (Mammea siamensis)
คำขวัญประจำจังหวัด: กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
สัญลักษณ์: - เป็นรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำมีลายกระหนกเปลว บนพื้นเบื้องหลังองค์พระพุทธรูปและมีช่อรวงข้าวประกอบอยู่ทั้งสองข้าง |
ความหมาย: |
วัดศรีโคมคำ/ Wat Sri Khom Kham |
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยม เรียกว่า "วัดพระเจ้าองค์หลวง" หรือ "วัดพระเจ้าตนหลวง" ครับ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุด ในลานนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกล่าวถึงอย่าง พิสดารว่า มีพญานาคนำทองคำมาให้ตายาย คู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งตายายคู่นี้ใช้เวลา สร้างถึง 33 ปี (พ.ศ. 2034 - 2067) และกาลต่อมาเรียกว่า "พระเจ้าองค์หลวง" ในปัจจุบันพระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่ เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรลานนาไทยด้วย ในเดือน พฤษภาคม จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำปี เรียกว่า "งานประเพณีนมัสการ พระเจ้าองค์หลวง เดือนแปดเป็ง" จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และ สำหรับ คนต่างถิ่นจะถือเป็นประเพณี เมื่อไปถึงเมืองพะเยาแล้ว สิ่งแรกนั้นก็คือ การไปนมัสการพระเจ้าองค์หลวง ของเมืองพะเยาเสียก่อน มิฉะนั้น จะถือว่าไม่ได้ไปถึงเมืองพะเยาเลย นอกจากนั้นยังมีศิลาจารึกเก่าแก่โบราณ อีกมากมายที่น่าไปเที่ยวชมครับ |
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง |
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พระเยา) ประดิษฐานอยู่ ที่สวนสาธารณะ เทศบาลหน้ากว๊านพะเยา เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พ่อขุนงำเมือง เป็นพระสหาย ร่วมน้ำสาบาน กับ พ่อขุนเม็งรายอดีต กษัตริย์เมืองเชียงราย และพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามกษัตริย์ ได้ทรงกระ ทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณกว๊านพะเยาครับ |
วนอุทยานภูลังกา/ Phu Langka Forest Park |
ข้อมูลทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ ในอดีตพื้นที่บริเวณไหล่เขาใกล้ยอดดอยเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการทดแทนทางธรรมชาติและเป็แหล่งต้นน้ำชั้น 1A เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เก้ง หมูป่า เลียงผา อ้นเล็ก กระจงเล็ก กระแตใหญ่เหนือ กระรอก เสือโคร่ง เสือดาว หมี ชะมด อีเห็น และสัตว์จำพวกนกและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ดอยหัวลิง
ดอยภูนม
ดอยภูลังกา |
กว๊านพะเยา/ Kwan Phayao |
กว๊านพะเยา เป็นบึงธรรมชาติ ที่งดงาม มีน้ำใสสะอาด เนื้อที่กว้างประมาณ ๑๒,๘๐๐ ไร่ เป็นที่เพาะพันธุ์ปลา ชนิดต่างๆ เช่นปลาหมอเทศ ปลานิล ปลาใน ปลาช้างลาย ปลากราย ฯลฯ บริเวณชายกว๊าน มีร้านอาหารมากมาย เหมาะ จะไปนั่งเล่นพักผ่อนหยอ่นใจในยามเย็น |
วัดอนาลโย-ดอยบุษราคัม/ Analayo Buddhist and Doi Busarakham |
วัดอนาลโย-ดอยบุษราคัม ห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 1(พะเยา-เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 อีก 9 กิโลเมตรครับ ทางลาดยางตลอดสาย เป็นวัด ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมาก พระครูปลัด สัมมพิพัฒนตญานาจารย์ (พระครูไพบูลย์) เป็นเจ้าอาวาสบริเวณ ดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สูง 18 เมตร หน้าตักกว้าง 12เมตร ลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆอีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปาง- ลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปะไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบ อินเดีย-พุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้ว มรกตจำลอง เครื่องบูชาพระแก้วมรกตทำ ด้วยทองคำและของมีค่าต่าง ๆ จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่าง สวยงาม บริเวณลานจอดรถข้างล่างมีร้านขายของที่ระลึก เช่น กระเป๋า และของที่ระลึก ประเภทต่าง ๆ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นวัดอนาลโยได้ 2 ทาง คือ ทางบันได และทางรถยนต์ |
น้ำตกจำปาทอง/ Champa Thong Waterfall |
น้ำตกจำปาทอง มีลักษณะเป็นน้ำตกสูงชัน น้ำใสสะอาด น้ำตกลงมาเป็นชั้น ๆ คล้ายงาช้างบ้าง หัวช้างบ้าง มีชื่อเรียกตามลักษณะ เช่น วังจำปา ตาดหัวช้าง ฯลฯ การเดินทางจากทางหลวงสายพะเยา-เชียงราย ตรงหลักกิโลเมตรที่ 7 มีทางแยกเข้าไปยัง ตัวน้ำตก ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตรครับ มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ตั้งอยู่ด้วย |
วัดนันตาราม |
วัดนันตาราม อยู่ที่บ้านดอนไชย เขตสุขาภิบาลเชียงคำ เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่า ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ตกแต่ง ลวดลายฉลุไม้ อย่างสวยงาม ตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบันระเบียง เป็นต้น |
วนอุทยานไดโนเสาร์เชียงม่วน |
ไดโนเสาร์เชียงม่วนเป็นไดโนเสาร์ตัวแรกที่ค้นพบในภาคเหนือ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๒ นายวรวุธ สุธีธร นักโบราณชีววิทยา หัวหน้าคณะสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีได้นำคณะสำรวจเข้ามาทำการขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ที่พบที่อ.เชียงม่วน จ.พะเยา พบซากกระดูกไดโนเสาร์วางตัวเรียงต่อกันในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ จำนวน ๑๐๔ ชิ้น ประกอบด้วยกระดูกคอ กระดูกสันหลัง กระดูกโคนหาง กระดูกสะโพกและกระดูกซี่โครง ผลการตรวจสอบทำให้ทราบว่าซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบเป็นซากไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีคอยาว หางยาว เดิน ๔ ขา และกินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุชนิดได้ แต่พบว่ามีลักษณะต่างจากไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดอื่นๆที่เคยพบในประเทศไทย สันนิษฐานว่าอาจเป็นชนิดพบใหม่ของโลก เนื่องจากแหล่งที่พบเป็นพื้นที่ใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก |
วัดพระนั่งดิน ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหารจนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา 1 เดือนกับอีก 7 วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า "ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน |
วัดลี ตั้งอยู่ที่บ้านหล่ายอิง ใกล้กับดรงเรียนเทศบาล 3 ตำบลเวียง เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของเมืองพะเยา สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2038 ตรงกับสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งสร้างถวายแด่พระเจ้ายอดเชียงรายกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ วัดลีเป็นชื่อดั้งเดิม และเป็นคำไทยโบราณทางภาคเหนือ หมายถึง กาดหรือตลาด วัดลี จึงหมายถึงวัดที่อยู่ในย่านชุมชนตลาด ภายใน วัดมีปูชนียสถานที่สำคัญ คือองค์พระธาตุวัดลี และยังพบโบราณวัตถุสมัยอาณาจักรพะเยาจำนวนมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทราย นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมของโบราณไว้อีกด้วย |
วัดพระธาตุสบแวน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงคำ 4 กม. มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่าอายุราว 800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้ |
ที่พักในจังหวัดพะเยา
พะเยา | |||
ชื่อที่พัก | ราคา | โทรศัพท์ | จำนวนห้อง |
เกตเวย์โฮเต็ล | 1500-3500 | 0-5441-4333-5 | 108 |
พระเยานอร์ทเทิร์นเลค | 650-1200 | 0-5448-1538-9 | 76 |
พระเยาคอนโดเทล | 200-350 | 0-5441-0436 | 104 |
โรงแรมธารทอง | 150-400 | 0-5443-1302, 0-5443-1342 | 124 |
โรงแรมวัฒนา | 100-230 | 0-5443-1203 | 34 |
บัวรีสอร์ท | 600-1300 | 0-5448-1596, 0-5448-1855 | 28 |
พระเยาโฮเต็ล | 680-840 | 0-5448-1971-2, 0-2322-5393-4 | 75 |
บังกะโลศิริพันธ์ | 120-270 | 0-5443-1319 | 26 |
เฉลิมศักดิ์ | 70-100 | 0-5443-1063 | 34 |
เฟรนด์เฮาส์ | 500-1200 | 0-5448-1556 | 12 |
บังกะโลสวนสน | 110-240 | 0-5443-1571 | 22 |
บังกะโลกว๊านพะเยา | 150-220 | 0-5448-1493 | 5 |
โรงแรมสงค์ศักดิ์ | 90 | 0-5448-1932 | 14 |
|
|||
อำเภอเชียงคำ | |||
ชื่อที่พัก | ราคา | โทรศัพท์ | จำนวนห้อง |
บัวทองรีสอร์ท | 350-700 |
0-5445-2831 |
14 |
คุ้มขนาบเขา | 200-400 |
0-5448-3536 |
13 |
เชียงคำโฮเต็ล | 100-260 |
0-5448-1893, 0-5443-1640 |
40 |
กิ่งอำเภอภูซาง | |||
ชื่อที่พัก | ราคา | โทรศัพท์ | จำนวนห้อง |
อุทยานแห่งชาติภูซาง | 2000 |
0-5440-1099,0-2562-0760 |
2 |
ภูซางเรือนไทย | 400-800 | 0-1672-2062 | 23 |
เรือนไม้ไผ่รีสอร์ท | 400-600 |
0-5445-1748 |
11 |
ร้านอาหารในจังหวัดพะเยา
อาหารพื้นเมือง
แจ่วฮ้อน ถ . ซุปเปอร์ไฮเวย์ ๐ ๕๔๔๘ ๑๗๘๖
โต๋เต๋อาหารเมือง ๖๘/๑ ม.๙ ถ.ประตูชัย โทร. ๐ ๕๔๔๑ ๑๐๒๖
ถ้วยก๋าไก่ ๒๘๖/๑ ถ.พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๒๔๖
ลานโพธิ์ ๑๓๐/๓ ม.๑๑ ต.บ้านต๋อม โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๑๘๓๔
ลุงใจ ๖๐ ม.๘ ต.แม่ปืม โทร. ๐ ๕๔๔๒ ๙๐๗๒
อาหารตามสั่ง
กว๊านพะเยา ๑๙/ ๕ ถ. ชายกว๊าน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๑๓๒
โกกง ถ . พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๑๓๓๖
ครัวเดือนเพ็ญ ๑๒๕ ม.๒ ต.แม่ปืม โทร. ๐ ๕๔๔๒ ๘๔๙๙
ครัวเบสท์ ๔๗/๕ ถ . ประสาท โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๐๒๓๘
คุณหญิง ถ. เชียงคำ- จุน โทร. ๐ ๕๔๔๑ ๕๔๑๘
บัว ถ. พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๑๕๙๖
บ้านตะวัน ๓๒๖ ถ.พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๓๐๕
รุ่งโรจน์โภชนา ๖๔๙/ ๕- ๖ ถ. ซุปเปอร์ไฮเวย์ พะเยา- เชียงใหม่ โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๕๐๘
เวียงตาล ๑๗/ ๙ถ. ชายกว๊าน โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๑๙๓๘
ศรีสกุล ๕๒๒ ถ. พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๐๙๖
สวนอาหารชายกว๊าน ๑๙/ ๒ ถ. ชายกว๊าน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๑๓๒
สวนอาหารแสงจันทร์ ๑๗/ ๔ ถ. ชายกว๊าน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๙๗๑
สารขันฑ์ ๓๙ถ. ชายกว๊าน โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๐๐๙๖
เอื้องเหนือ แม่ต๋ำสายใน ลานโพธิ์ ติดโรงพยาบาลพะเยา
ฮั่วหลี ๕๕๒ ถ . พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๒๗๓
สวนอาหารคันทรี ๒๔ ม.๒ ต.สันโค้ง อ.ดอกคำใต้ โทร. ๐ ๕๔๔๑ ๘๖๖๑
เฮือนไม้ ม.๖ ต.ศรีชุม อ.ดอกคำใต้ โทร. ๐ ๕๔๔๙ ๑๙๒๐
ก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอย ข้าวราดแกง ไก่ย่าง
ไก่ย่างทันเจริญ ๖๔๘/ ๒ ถ. พหลโยธิน
ข้าวซอยแสงเพียร ๔๓ ถ. ท่ากว๊าน โทร. ๐ ๕๔๔๘ ๒๐๐๖
ผินผิน ๗/ ๘- ๑๑ ถ. ประกลอง ( ก๋วยเตี๋ยวหมู, ข้าวมันไก่)
รวมมิตร ๕๙๘ - ๖๐๐ ถ. พหลโยธิน โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๒๕๖ ( ข้าวแกง, ต้มเลือดหมู)
อันเจริญ ๑๐ / ๑- ๓ ถ. ราชสัมพันธ์หลังตลาดเทศบาลเมืองพะเยา ( ก๋วยเตี๋ยวหมู)
ข้าวซอยป้าเสงี่ยม ๑๒๖ หมู่ ๒ ต . หย่วน ถ. สุทธิประชาราษฎร์ อ. เชียงคำ โทร. ๐ ๕๔๔๕ ๑๒๕๘ ( ข้าวซอย, เกี๊ยวกรอบ)
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล